วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำกริยา verb part 1

     คำกริยา verb  ซึ่งมีความสำคัญมากอีกตัวหนึ่งในเรื่องของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่ง คำกริยา verb เป็นคำที่แสดงการกระทำของประธานในประโยค และแสดงถึงกาลเวลาของประโยคนั้นอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว คำกริยา verb ยังสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. สกรรมกริยา Transitive verb หมายถึง คำกริยาที่จะต้องมี กรรม object มารองรับอยู่ในประโยคด้วยจึงจะเป็นประโยคที่สมบูรณ์ เช่น You are opening "คุณกำลังเปิด" ถ้าบอกแค่นี้ยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเปิดอะไร เราจึงต้องการกรรมมาขยายเพื่อที่จะทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์ เช่น You are opening the door. คุณกำลังเปิดประตู เราขยายความได้ว่า door  ประตู  คือ กรรม มีหน้าที่รองรับกริยาหรือขยายกริยา  open คือ กริยา ว่าเปิดอะไร ถ้าไม่มีกรรมมาขยายหรือรองรับประโยคเหล่านั้นก็จะมีใจความไม่สมบูรณ์ เป็นต้น

2. อกรรมกริยา Intransitive verb หมายถึง คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับหรือมาขยายประโยค เพราะว่า อกรรมกริยา เป็นคำกริยาที่มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวมันเองแล้ว เช่น she is dancing at  pub every week  เธอกำลังเต้นอยู่ที่ผับทุกๆ สัปดาห์ dance เต้นรำ ถือว่าเป็นอกรรมกริยา ที่ไม่้ต้องมีกรรมมารองรับ เพราะเป็นกริยาที่มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว  นอกจากนี้คำกริยาที่เป็น อกรรมกริยา Intransitive verb ก็มีมากมายยกตัวอย่างคร่าวๆ เช่น  sit  นั่ง   stand   ยืน   go   ไป    come   มา  เหล่านี้เป็นต้น


3. กริยาช่วย หรือกริยานุเคราะห์  Auxiliary verb หมายถึง คำกริยาที่ไม่ได้แสดงอาการหรือกระทำใดๆ แต่เป็นคำที่อยู่ในประโยคเพื่อช่วยกริยาตัวอื่นทำให้ประโยคนั้นเป็นประโยคปฏิเสธ หรือคำถาม เป็นกริยา
บอกกาลเวลาว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต เราจะกล่าวถึงคำกริยาช่วยที่มีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

ข้อสังเกต
    Verb to be  คำกริยากลุ่มนี้ได้แก่ is, am, are  ซึ่งถ้ามีอยู่ในประโยคโดยไม่มีคำกริยาอื่น กริยาช่วยกลุ่มนี้ก็จะเป็นกริยาหลัก แปลว่า เป็น อยู่ คือ เช่น I am a singer ฉันเป็นนักร้อง  แต่ถ้ากริยาช่วยกลุ่มนี้อยู่ในประโยคที่มีกริยาอื่นอีกก็จะแปลความหมายว่ากำลังทันที ยกตัวอย่าง เช่น You are singing  คุณกำลังร้องเพลง เป็นต้น
     Verb to do คำกริยากลุ่มนี้ได้แก่ do, does, did  เป็นได้ทั้งกริยาช่วย และกริยาหลัก ถ้าเป็นกริยาช่วยก็ไม่ต้องแปลความหมาย เช่น Do you love me? คุณรักฉันไหม Does she goes to school? เธอไปโรงเรียนใช่ไหม ซึ่งอธิบายได้ว่า do, does เป็นเพียงกริยาช่วย เป็นการสร้างรูปประโยคเป็นประโยคคำถาม จึงไม่ต้องแปลความหมาย      
    การใช้ do, does, did  เราใช้ do พหูพจน์ และใช้ does เอกพจน์  ส่วน did ใช้เมื่อประโยคนั้นเป็นอดีต และใช้ได้กับเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น Where did you go last night? เมื่อคืนคุณไปที่ไหนมา เป็นต้น

ฺVerb to have คำกริยากลุ่มนี้ได้แก่ has, have, had ถ้าเป็นกริยาแท้ แปลว่า มี, เป็น, ได้ แต่ถ้าเป็นกริยาช่วยก็ไม่ต้องแปลความหมาย 
         การใช้ has, have, had เราใช้ has กับคำนามเอกพจน์ และใช้ have กับคำนามพหูพจน์ ส่วน had ใช้ัเมื่อประโยคนั้นเป็นอดีตกาล ยกตัวอย่างการใช้ has, have, had เช่น  He has lunch at house เขากินมื้อเที่ยงที่บ้าน has เป็นกริยาแท้ She has lived in bangkok for two week เธออาศัยอยู่ที่กรุงเทพมานานสองสัปดาห์แล้ว has เป็นกริยาช่วย เหล่านี้เป็นต้น
     ขอจบบทความเกี่ยวกับเรื่อง กริยา verb ไว้เีพียงเท่านี้ก่อน เพราะยังมีรายละเอียดว่าด้วยเรื่องของ กริยา verb ประเภทอื่นๆ ที่จะต้องกล่าวถึงในบทต่อไปครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น