วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำสรรพนาม pronoun part 1

     คำสรรพนาม Pronoun คือคำที่ใช้แทนคำนามเพื่อไม่ให้กล่าวคำนามซ้ำๆ อีก แล้วคำสรรพนามสามารถแบ่งแยกย่อยออกมาได้อีก 8 ชนิด ดังนี้
1. บุรุษสรรพนาม Personal Pronoun เป็นสรรพนามที่ใช้แทนชื่อของ คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ โดยทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค บุรุษสรรพนามเหล่านั้น ได้แก่ I, you, we, he, she, it และ they เราจะมายกตัวอย่างของประโยคเหล่านี้กัน อย่างเช่น ถ้าอยากพูดว่า jack กับ jane ชอบว่ายน้ำ เราก็สามารถใช้คำว่า
พวกเขา (They) คือ They like to swim เป็นต้น ประโยคต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่างการใช้สรรพนามทั้ง 7 ดังนี้
I want to go to the market ฉันอยากไปตลาด 
You are reading a book คุณกำลังอ่านหนังสือ 
We are playing tennis เรากำลังเล่นเทนนิส 
He is eating an apple เขากำลังกินแอปเปิ้ล 
She is speaking to tommy เธอกำลังพูดกับทอมมี่ 
It is my cat แมวของฉัน และ 
They are going to the office พวกเขากำลังไปที่ออฟฟิศ เหล่านี้เป็นต้น
    
2. สรรพนาม Possessive Pronoun เป็นสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่
mine     ของฉัน          ours        ของเรา
yours    ของคุณ         his           ของเขา
hers      ของหล่อน     its           ของมัน
theirs    ของพวกเขาทั้งหลาย 
     หลักการใช้สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของหลักสำคัญก็คือ ต้องไม่มีคำนามอื่นตามหลัง เช่น
This pencil is mine        นี่คือดินสอของฉัน
That book is yours      นั่นคือหนังสือของคุณ
This car is ours            นี่คือรถของพวกเรา
This pen is hers            นี่คือปากกาของหล่อน เป็นต้น 

3. สรรพนามแสดงการย้ำหรือเน้น Reflexive Pronoun เป็นสรรพนามที่ใช้เมื่อต้องการเน้นย้ำผู้กระทำ ได้แก่
myself         ด้วยตัวฉันเอง
yourself       ด้วยตัวคุณเอง
himself        ด้วยตัวเขาเอง
herself         ด้วยตัวเธอเอง
itself            ด้วยตัวมันเอง
ourselves     ด้วยตัวพวกเราเอง
themselves   ด้วยตัวพวกเขาเอง

หลักการใช้เพื่อการเน้นย้ำสามารถใช้ได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
3.1 วางไว้หลังประโยค แสดงการย้ำว่าทำเองคนเดียวไม่มีใครช่วย เช่น she did it by herself  เธอทำมันด้วยตัวเธอเอง
3.2 วางไว้หน้าประโยค แสดงการย้ำว่าตัวประธานเป็นผู้ทำเอง เช่น he himself drove this car เขาขับรถคันนี้เอง
3.3 วางไว้หลังคำกิริยา เพื่อย้ำว่าผู้นั้นรับผลการกระทำนั้นด้วยตัวเอง เช่น  he enjoys himself  here 
เขามีความสุขที่นี่

4. สรรพนามบ่งชี้ Definite Pronoun เป็นสรรพนามที่บ่งชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ถ้าพูดว่า "ปากกาหนึ่งด้าม" ก็จะไม่ได้เป็นการชี้เฉพาะ แต่ถ้าใช้สรรพนามบ่งชี้ไปว่า This pen เพื่อจะให้รู้ว่าหมายถึงปากกาด้ามนี้เท่านั้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 รูปได้แก่
this   นี้     that  นั่น นั้น     one  อันหนึ่ง     these  เหล่านี้     those  เหล่านั้น     ones  พวกหนึ่ง เหล่าหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น this ruler is mine ไม้บรรทัดอันนี้เป็นของฉัน (ไม้บรรทัดอันนี้ไม่ใช่อันอื่น)
I love these dolls  ฉันรักตุ๊กตาเหล่านี้ เป็นต้น
แล้วยังมีสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง Indefinite Demonstrative Pronoun เช่น  any บางคน บางสิ่ง
all  ทั้งหมด anyone   บางคน  anybody  บางคน  everybody  ทุกคน  nobody  ไม่มีใคร  someone  บางคน  something  บางสิ่ง ยกตัวอย่างการใช้สรรพนามที่ชี้เฉพาะกว้างๆ อย่างเช่น
someone gave me this gift   ใครบางคนให้ของขวัญแก่ฉัน  everybody love him  ทุกๆ คนรักเขา 

5. วิภาคสรรพนาม Destributive Pronoun เป็นสรรพนามที่ใช้แบ่งแยกแต่ละคนแต่ละสิ่งเพื่อให้รู้ว่าอาจเป็นทั้งสองสิ่งหรือสองคนที่กล่าวถึง อาจเป็นเพียงคนหนึ่งคนใด หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่านั้นในหลายๆ คน (หรือหลายสิ่งนั้น) ซึ่งคำเหล่านี้ได้แก่  each  แต่ละ,  either  สิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง,  neither  ไม่ทั้งสองอย่าง
 หลักในการใช้ิวิภาคสรรพนามต้องไม่มีคำนามตามหลัง ถ้ามีำคำนามตามหลังถือว่าเป็น คำคุณศัพท์ adjective ไม่ได้อยู่ในฐานะำำ คำสรรพนาม pronoun  เราจะมายกตัวอย่าง วิภาคสรรพนามกัน
     You can either play guitar or piano but you cannot play both. คุณสามารถเล่นกีตาร์หรือเปียโนได้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คุณไม่สามารถเล่นทั้งสองอย่างได้
      Neither of them can drive a car. ทั้งคู่ไม่สามารถขับรถได้เลย
      แต่ถ้ามีคำนามตามหลัง each, either และ neither จะกลายเป็น คำคุณศัพท์ adjective ไป ดังตัวอย่างเช่น Each boy has a motorcycle.   เด็กผู้ชายแต่ละคนมีรถมอเตอร์ไซต์  Either diamond ring is very expensive. แหวนเพชรแต่ละวงมีราคาแพง  เป็นต้น
     เราขอจบบทความชนิดของกลุ่มคำในภาษาอังกฤษว่าด้วยเรื่องของ คำสรรพนาม pronoun part 1 เอาไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า เดี๋ยวกลับมาเขียน คำสรรพนาม pronoun part 2 ต่อให้จบเลย อย่าลืมติดตามกันนะครับ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น